เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 10. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยินทรีย์ ความเกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในวิริยินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ ความประมาทเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสตินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธินทรีย์ อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสมาธินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์ อวิชชาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรสในปัญญินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ความไม่
มีศรัทธาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสัทธาพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ ความ
เกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในวิริยพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ ความประมาท
เป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสติพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ อุทธัจจะเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสมาธิพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ อวิชชาเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในปัญญาพละนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ความประมาทเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสติสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อวิชชาเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ความเกียจคร้านเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในวิริยสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ความเร่าร้อนเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในปีติสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :409 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 10. มัณฑเปยยกถา
ความใสคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความชั่วหยาบเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการพิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ การไม่พิจารณาเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรสในสัมมาทิฏฐินั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ มิจฉาสังกัปปะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาสังกัปปะนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา มิจฉาวาจาเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาวาจานั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ มิจฉากัมมันตะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมากัมมันตะนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ มิจฉาอาชีวะเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาอาชีวะนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ มิจฉาวายามะเป็นกาก
อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาวายามะนั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ มิจฉาสติเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรสในสัมมาสตินั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิเป็นกาก อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาสมาธินั้นเป็นความน่าดื่ม
ความใสคือการเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ความใสคือความตรึกตรอง ชื่อว่า
สัมมาสังกัปปะ ความใสคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา ความใสคือสมุฏฐาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :410 }